บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระสิริมังคลาจารย์ (THE ROLE AND CONNECTION REGION OF PHRASIRIMUNGHALAJARA)

Phra Anusorn Kittiwanno, Phramaha Sittichai Chayasitti (Panyawai), Raweerose Sricompa, Nitipong Kaweewon

Abstract


บทคัดย่อ

            การวิจัยเรื่อง “บทบาทการเชื่อมโยงภูมิภาคของพระสิริมังคลาจารย์” มีวัตถุประสงค์ คือ  ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดและวิถีอัตลักษณ์ของพระสิริมังคลาจารย์ ๒) เพื่อศึกษาบทบาทการเชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมของพระสิริมังคลาจารย์ และ ๓) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลความสัมพันธ์และผลงานที่มีต่อการศึกษา การเผยแผ่ การสร้างเครือข่ายและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาของ พระสิริมังคลาจารย์  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์เชิงลึกพระสงฆ์ ประชาชนในจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑๐ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า        

             พระสิริมังคลาจารย์มีนามเดิมว่า ศรีปิงเมือง ถือกำเนิดในจังหวัดเชียงใหม่ โดยบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๓ ปี ภายหลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วนั้น ได้เดินทางไปเรียนหนังสือในสำนักของพระพุทธวีระ ภายหลังจากที่ศึกษาจากสำนักของพระพุทธวีระแล้วได้เดินทางกลับมายังเชียงใหม่ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระสิริมังคลาจารย์ ตามฉายาของท่าน และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอดและวัดสวนดอก พระสิริมังคลาจารย์ได้มรณภาพ ในระหว่าง (พ.ศ.๒๐๖๘ – ๒๐๗๘) ตรงกับรัชสมัยพระเมืองเกศเกล้า ท่านได้รจนาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ๔ คัมภีร์ คือ เวสสันตรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยาปกสกฎีกา และมังคลัตถทีปนี โดยมีแนวคิดที่สำคัญในการรจนาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาคือ ๑) แนวคิดเรื่องความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒) แนวคิดจากนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาร่วมยุค และ ๓) แนวคิดในสืบทอดพระพุทธศาสนา โดยมีวิถีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น คือ ๑) วิถีอัตลักษณ์ด้านการแต่งวรรณกรรม ๒)วิถีอัตลักษณ์ด้านความสันโดษ และ ๓) วิถีอัตลักษณ์ด้านการใฝ่รู้ใฝ่เรียน จากแนวคิดและวิถีอัตลักษณ์ดังกล่าวนี้ ทำให้พระสิริมังคลาจารย์ได้รับการยอมรับว่าเป็นจอมปราชญ์แห่งล้านนาและมีผลงานที่มีคุณูปการต่อพระศาสนาจนถึงปัจจุบัน

             ผลงานวรรณกรรมของพระสิริมังคลาจารย์ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยกันสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์เวสสันตรทีปนี จักกวาฬทีปนี สังขยาปกสกฎีกา และมังคลัตถทีปนี ถือเป็นงานวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ซึ่งผลงานเหล่านี้เป็นเสมือนตัวกลางการเชื่อมโยงเส้นทางวัฒนธรรมการศึกษาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ขจรไกล ดังจะเห็นได้จากผลงานของท่านที่มีการสืบทอดอย่างไม่ขาดสายถึงแม้เวลาจะล่วงเลยมาเป็นเวลาห้าร้อยกว่าปี แต่ก็ยังมีการปริวรรตจากภาษาบาลีเป็นภาษาล้านนา และปริวรรตเป็นภาษาไทยกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงวัฒนธรรมการศึกษาและการเผยแผ่ผลงานของพระสิริมังคลาจารย์

             วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาที่พระสิริมังคลาจารย์ได้รจนาขึ้นนี้ ถือเป็นวรรณกรรมที่มีอิทธิพลความสัมพันธ์ที่มีต่อการศึกษา การเผยแผ่ การสร้างเครือข่ายและวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลความสัมพันธ์ที่มีต่อการศึกษานั้น ปัจจุบันผลงานของท่าน คือ มังคลัตถทีปนี ได้ถูกนำเอามาเป็นหลักสูตรในการศึกษาแผนกธรรม บาลี ในระดับ เปรียญธรรม ๔,๕,๗ ประโยค และผลงานทั้งหมดก็ถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ จนทำให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้อิทธิพลความสัมพันธ์ที่มีต่อการสร้างเครือข่ายวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนานั้น ในปัจจุบันผลงานของท่านโดยเฉพาะเวสสันตรทีปนี มังคลัตถทีปนี ถือเป็นวรรณกรรมที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือ ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่า หากได้ฟังเทศน์มหาชาติครบ ๑๓ กัณฑ์ ด้วยบุญผลานิสงส์ จะไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรยในอนาคต ที่มีแต่ความสงบสุข นอกจากนี้ ในมังคลัตถทีปนีได้เสนอแนวทางในการดำรงตนเป็นคนดีตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งหากทุกคนดำรงตนอยู่ในมงคล ๓๘ ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เพราะฉะนั้นผลงานวรรณกรรมทั้งหมดของพระสิริมังคลาจารย์นี้นอกเหนือจากเป็นการสืบทอดและเผยแผ่พระศาสนาแล้วนั้น ยังเป็นเหมือนแนวทางในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงคือความสงบสุขทั้งกายและใจนั่นเอง

Abstract

             The purposes of the research entitled “The role of provincial part connection of Pra Sirimankalajarn”were; 1. To study concepts and identities of Phra Sirimankalajarn 2. To study the role of  provincial part connection of Phra Sirimankalajarn 3. To analyze the influential  relationship and works that affected Buddhist propagation and the construction of cultural connection of Phra Sirimankalajarn. The qualitative method was used in this research by studying related document and research.Also, in-depth interview was used with the 10 subjects (monks, Phrae, Nan, and Chiang Mai population).

The results were found as follow:

             The old name of Phra Sirimankalajarn was “Sri Ping Meung”. He was born in Chiang Mai province and ordained when he was 13 years old. After the ordination, he studied in Phra Bhudvira school. After that, he came back to Chiang Mai and he was named as Phra Sirimankalajarn and he was the abbot of Jet Yod temple and Suan Dok temple. He passed away between B.E. 2067 and B.E.2078 which was the reign of Pra Meung Ketkao. He wrote 4 Buddhist scriptures; Vetsantorntiepnee, Jakkavantiepnee, Sankayhapoksokdeekha ,and Mankarattiepanee with the Buddhist concept; 1. The concept of success in Dharma of the Budda 2. The concept of contemporary Buddhist experts 3. The concept of Buddhist inheritance. The important identities were; 1. literature identity 2. Solitude identity and 3. knowledge seeking identity. From the mentioned identities, Phra Sirimankalajarn was considered to be the Lanna expert and his valuable works were considered to be useful in Buddhism nowadays.

             His literature was considered to be the important role in preserving Buddhism, especially, in education. His scriptures, which were considered to be the medium in order to connect the cultural and educational ways and also the Buddhist propagation, were accepted worldwide. There was the translation from Phali to Lanna language and to Thai language that present the cultural connection and the propagation of Phra Sirimankalajarn.

             His literature was considered to have the influence in Education, in Buddhist propagation and the construction of cultural Buddhist connection, especially, the influential relationship in Education. Nowadays, his work is Mankalatheppanee is brought to be the Phali  curriculum in the highest level of Buddhist dhamma 4,5,7. Moreover, his works is translated in many languages. At present time, his works, especially, Phra Vetsandorntheppanee and Mankalathepanee are considered to be the basis of Thai culture, especially in Lanna. Lanna people believe that if they listen to 13 Mahachat sermons, they will birth in the period of Phra Sri Areeya Methai. Also, Mankalathepanee proposes the way of being good person through Buddhism. Therefore, his works are not only the Buddhist propagation but also the way of living in order to achieve the real goal, that are the peaceful mind and body.


Keywords


The Role , PhraSirimunghalaJara

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.