การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน

Janjira Chaipamornrit, Ketsaraphan Punsrigate Khongjaroen

Abstract


บทคัดย่อ

           บทความเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน โดยใช้ขั้นตอนการศึกษา 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ ทฤษฎี หลักการ แนวคิด ข้อความรู้ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาและการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน ขั้นที่ 2) การสังเคราะห์ข้อความรู้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ  การเรียนการสอน ขั้นที่ 3) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา ขั้นที่ 4) การจัดทำเอกสารและสื่อประกอบรูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา และขั้นที่ 5 การตรวจสอบและประเมินรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา (ก่อนการทดลองใช้)   

           ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนภาษาจีน ตามแนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาของนักศึกษาวิชาชีพครู วิชาเอกการสอนภาษาจีน ควรใช้การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เรียนรู้จากการสังเกตการณ์ปฏิบัติของตัวแบบ การกำหนดภาระงานที่เพิ่มความซับซ้อน และหลากหลายที่สะท้อนผลการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีการพัฒนาตนเองต่อเนื่องไป โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน เป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ขั้นการจัดเตรียมของครู (ดำเนินการก่อนการจัดการเรียนการสอน) และระยะที่ 2 ขั้นผู้เรียนสร้างความรู้ (ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน) ซึ่งมีอยู่ 8 ขั้นตอน คือ  1. ผู้สอนดำเนินการสอนทฤษฎีและเนื้อหาสาระ 2. ผู้เรียนรวบรวมข้อมูลและสรุปความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความหมาย 3. ผู้เรียนออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้โดยมีครูและตัวแบบช่วยให้คำแนะนำ 4. ผู้เรียนสะท้อนเนื้อหาสาระและทักษะการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ 5. ผู้สอนเตรียมตัวผู้เรียนในการปฏิบัติการสอนในสถานปฏิบัติการณ์จริง 6. ผู้เรียนนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ไปใช้สอนจริง 7. ผู้เรียนสรุปผลการเรียนรู้และสะท้อนการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ 8. ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเองตามสภาพจริง

 

 

Abstract

          This article aimed to develop teaching model to enhance Chinese language teaching performance though cognitive apprenticeship of pre-service teacher studying in Teaching Chinese program by following the 5 steps : 1. Studying and analyzing theories and concepts relating to cognitive apprenticeship and the enhancement of Chinese teaching performance, 2. Synthesizing knowledge in order to be the conceptual framework of teaching model development, 3. Developing teaching model for enhancing Chinese language teaching performance though cognitive apprenticeship, 4. Creating teaching materials in order to enhance Chinese language teaching performance of pre-service teachers though cognitive apprenticeship, and 5. Checking and evaluating the constructed teaching model before try-out.

          The results were as follows;   

          The teaching model for enhancing Chinese language teaching performance of pre-service teachers should focus on problem-based learning and observational learning. In addition, giving various complex tasks and responsibilities, regarded as learning outcome reflection, can promote learners’ knowledge and understanding, leading to self-development. Learning management was divided into 2 phases: phase 1: teaching preparation (it should be conducted before teaching), phase 2: constructing knowledge (it should be conducted in classroom teaching) consisting of 8 following steps: 1. Teachers teach contents and related theories to learners, 2. Learners collect and summarize information, 3. Learners design lesson plans by following teachers’ advice and model, 4. Learners reflect their lesson plan’s contents, 5. Teachers prepare learners for their school practicum, 6. Learners use their lesson plan in real situations, 7. Learners summarize their learning outcome and reflect their learning, both in theoretical and practical aspects, and 8. Learners evaluate their learning outcome based on authentic assessment.


Keywords


teaching model, enhancement of teaching performance, cognitive apprenticeship, pre-service teachers, Chinese language

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.