ศึกษาจิตที่ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม ในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ธิติญา ริมฝาย

Abstract


วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ประเภท และลักษณะของจิตในพระพุทธศาสนาเถรวาท ศึกษาเรื่องโลกธรรม ๘ และหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ศึกษาหลักการ และวิธีการพัฒนาจิตไม่ให้หวั่นไหวต่อโลกธรรม และตัวอย่างการนำหลักโลกธรรม ๘ มาใช้ในการดำเนินชีวิต

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารและเชิงคุณภาพโดยเชิงเอกสารในส่วนของความหมายของจิต หลักธรรมโลกธรรม ๘และหลักสำหรับการพัฒนาจิต วิธีการฝึกจิต ผู้วิจัยได้ศึกษาเนื้อหาตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ และจากผลงานของผู้ทรงคุณวุฒิ และศึกษาข้อมูลในการนำเอาหลักโลกธรรม ๘ มาใช้ในการดำเนินชีวิตโดยการสังเกต สัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มในข้าราชการและผู้เกษียณอายุราชการ และประชาชนทั่วไป เพื่อศึกษาการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักโลกธรรม ๘ และหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตให้มีความสุข

การวิจัยพบว่า จิตในความหมายของพระพุทธศาสนาคือ ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ในการได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึก ต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ สิ่งมีชีวิตประกอบไปด้วยกายและจิต กายคือส่วนที่เป็นรูป ส่วนจิตคือส่วนที่เป็นนาม ซึ่งไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ประเภทของจิตมี ๙ ประเภท เป็นการแบ่งโดยนัย ๙ นัย คือ ชาติ ภูมิ โสภณ โลก เหตุ ฌาน เวทนา สัมปโยค และสังขาร รวมแล้วได้ ๘๙ดวง ซึ่งการทำงานของจิตตามธรรมชาติจะเกิด-ดับสืบต่อกัน ทั้งในภวังค์จิตและวิถีจิต ภวังค์จิตคือจิตเกิด-ดับในกระแสภวังค์ ไม่ได้รับรู้โลกภายนอก วิถีจิตคือการทำงานของจิตเมื่อมีการรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ การทำงานของจิตเมื่อประกอบเจตสิกนั้น มี ๑๔ กิจด้วยกัน คือปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ อาวัชชนกิจสวนกิจฆายนกิจ สายนกิจ ผุสสนกิจ สัมปฏิจฉนกิจ สันตีรณกิจ โวฏฐัพพนกิจ ชวนกิจ ตทาลัมพนกิจ (ตทารัมมณกิจ) และจุติกิจ

หลักการและวิธีการพัฒนาจิต ไม่ให้หวั่นไหวต่อโลกธรรมคือ การฝึกจิตไม่ให้ขุ่นมัว เศร้าหมอง จากสิ่งที่มากระทบจึงจะสามารถนำพาความสุขมาให้แก่ผู้ที่ศึกษาถึงเรื่องโลกธรรม

          การนำเอาหลักโลกธรรม ๘ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ผู้ศึกษาได้มีการสังเกตและสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ ข้าราชการจิตอาสา และประชาชน จำนวน ๑๐ คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ตามแนวทางของโลกธรรม ๘ประกอบด้วยสอบถามความรู้เรื่องโลกธรรม ๘ และการนำเอาแนวทางของโลกธรรม ๘ มาใช้ในการดำเนินชีวิต พบว่าผู้ถูกสัมภาษณ์ได้นำหลักโลกธรรม ๘ มาใช้เป็นแนวทางในการทำงาน และชีวิตประจำวัน และนอกจากนั้นได้มีการนำหลักโลกธรรม ๘ มาใช้ในการช่วยเหลือสังคมและชุมชน ทำให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ส่งผลทำให้เกิดสังคมที่น่าอยู่และเกิดสันติสุข

การศึกษาเรื่องโลกธรรม ๘คือ ธรรมดาของโลก หรือความเป็นไปตามคติธรรมซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตว์โลกก็หมุนเวียนตามมันไป มี ๒ ส่วน คือ ส่วนที่น่าปรารถนา คือ อิฏฐารมณ์ ประกอบด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ และสุข สำหรับส่วนที่ไม่น่าปรารถนา คือ อนิฏฐารมณ์ ประกอบด้วย เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และทุกข์

โลกธรรมเหล่านี้ย่อมเกิดแก่ปุถุชนที่มิได้เรียนรู้ และผู้ที่ได้เรียนรู้ต่างกัน ในผู้ที่เรียนรู้ย่อมเข้าใจในความเป็นจริง ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นล้วนไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาตามอิฏฐารมณ์ และไม่ขุ่นมัวหม่นหมองไปกับอนิฏฐารมณ์ ทำให้เกิดสติและดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข

The purpose of this thesis is to study meanings, types, characteristics and functions of minds in Theravada Buddhist scripture concerning eight worldly conditions and its related Dharma. The study focuses on the principles and the method of development of mind in not being swayed to the worldly matters and also to bring those principles to apply in our daily living.

          This work is both document research and qualitative research. The document is to explain the meaning of mind, the Dharma principles of the eight worldly conditions and the basis for developing our mind or mind disciplining. The researcher has studied from the contents appeared in the scripture, from the works of Buddhist scholars and from the information concerning forapplying of those principles mentioned before in daily living by observing, interviewing, and group discussions among active and retired civil servants, public officials, and general people forstudying the way of life according to the principles of eight worldly conditions and its other Dharma that will affect to the way to peaceful living.

          The result of research found that the meaning of mind according to Buddhist teaching is the human nature that acknowledge the mood, or the human nature whose functions are hearing, smelling, tasting, feeling, touching and thinking. Living things consist of bodies and minds. Body is the real matter while the soul is just the name. However, both things cannot separate. Themindscan bedivided toa types are incarnation, place, beauty, earth, cause, meditation, compassion, compilation and body. Altogether totalup 89 types, which the work of mind will be born or die successively in a trance-like state of mind, and a path of mind. Trance-like state of mind is born and stops in a dreaming state. It does not recognize the surrounding world. A path of mind is the work of mind when there is an acknowledgement of mood by way of eyes, ears, noses, tongues, bodies, and hearts. There are 14 actions when a mind starts working, and they are studying of the principle, the methodof development of mind that not being swayed to worldly conditions – that is to train our mind not to worry, not to be sad from the surroundings environments, and can befound happiness by using thefoundations of mindfulness 4and 6  mindfulness on breathing. In studying the principles and the development of minds and adapting them for the daily life, the researcher has observed and interviewed 10 of the elderly civil servants and general public by using the interview forms that consist of the knowledge of the eight worldly conditions and the daily practice of those principles. The results of the interview is found that they are applied these principles in their works, in their daily lives, and in helping the societies and community that is created the helping hands all over the place without expecting anything back. People live together happily and peacefully.

          The study about the worldly conditions is ordinary of world, or is the cycle that comes and goes to all beings of the world. There are two phases concerning this. One is the worldly desires – wealth, fame, praise, and happiness. And the opposites of those are – losing wealth, losing fame, gossips, and sufferings.

          These worldly conditions will happen to people who do not want to learn, or the differences in understandings.  People who learned will know the truth that everything is not permanent and there are always changes. Not being swayed by worldly desires and not being sorrowful with the temptations. These things will give people wisdom and peace.


Keywords


ศึกษาจิต, ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม, พระพุทธศาสนาเถรวาท

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.