การปรับปรนทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่น ในอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อการเปิดจุดผ่านแดนถาวร ช่องภูดู่ ภายใต้กระแสการพัฒนา ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (THE SOCIAL, CULTURAL, ECONOMIC ASSIMILATION OF LOCAL COMMUNITY IN AMPHOE...)

Buddhinan Boonruang

Abstract


บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลง ลักษณะการปรับปรน และ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับปรนทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจของคนในท้องถิ่น และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางในการแก้ไขปัญหาของส่วนราชการและคนในท้องถิ่นต่อการเกิดขึ้นของจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ภายใต้กระแสการพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ใน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย เทศบาลตำบลบ้านโคก องค์การบริหารส่วนตำบลนาขุม องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเบี้ย องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเจ็ดต้น ของอำเภอบ้านโคก หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ส่วนราชการ 3. สถาบันการศึกษา 4. เอกชน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณคือ แบบสอบถามทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาดังนี้

 

             1. สภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นต่อการเกิดขึ้นของจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ รวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้างทางสังคมและพฤติกรรมทางสังคม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง การเปลี่ยนแปลงแบบแผนทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก

              2. ลักษณะการปรับปรนทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นต่อการเปิดจุดผ่านแดนด่านถาวรช่องภูดู่ ชุมชนท้องถิ่นมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปทำให้ส่งผลกระทบทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศชุมชนท้องถิ่นชายแดนมีความคิดเห็นว่าผลกระทบทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศต่อการเตรียมสู่ประชาคมอาเซียนของชุมชนท้องถิ่นชายแดนอยู่ในระดับปานกลางในมุมมองของเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนเห็นว่าผลกระทบทางธุรกิจการค้าระหว่างประเทศต่อการเตรียมสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งด้านลักษณะอาชีพและรายได้ การถือครองที่ดิน เป็นต้น

                3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพบว่า ตัวแปรอิสระที่ศึกษาทั้งหมด 9 ชุด มีเพียง 6 ชุดเท่านั้น คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economy) ปัจจัยด้านทัศนคติที่มีต่อวัฒนธรรม (Atti) ปัจจัยด้านสังคม (Social) ปัจจัยด้านวัฒนธรรม (Culture) ปัจจัยด้านนิเวศวิทยา (Ecology) และปัจจัยด้านประชากร (Popula) ที่สามารถอธิบายการผันแปรของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นต่อการเกิดขึ้นของจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ ด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางในการแก้ไขปัญหาของส่วนราชการและคนในท้องถิ่นต่อการเกิดขึ้นของจุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ จากการศึกษาพบว่า หน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานเอกชนมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาแบบเชื่อมโยง 4 ด้าน ได้แก่ การเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical linkage) การเชื่อมโยงทรัพยากรมนุษย์ (Human linkage) การเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ (Economic linkage) การเชื่อมโยงทางการเมือง (Political linkage)

 

 Abstract

             The objectives of this research were to examine the social, cultural, economic changes of people in the local communities, to investigate the social, cultural, economic accommodation of people in the local communities, to study the factors affecting the social, cultural, economic accommodation of people in the local communities, and to develop policy recommendations and guidelines in solving the problems of government agencies and people in the local communities towards the opening of Phu Doo Border Checkpoint under the development stream of Greater Mekong Sub-region. The samples recruited by purposive sampling were 400 residents in 4 Local Administrative Organizations including Ban Khok Sub-district Municipality, Nakhum Sub-district Municipality, Bo Bia Sub-district Municipality, Muanjedton Sub-district Municipality Ban Khok District; government and private organizations including 1) Local Administrative Organization; 2) Government Agency; 3) Educational Institution; 4) Private Organization. The research instrument was questionnaire and the data was analyzed by descriptive statistics. The results showed that:

             1. The changes on social, cultural, economic of people in the community due to the opening of Phu Doo Border Checkpoint, in overall, was found at the moderate level. The change of social structure and social behavior, in overall, was found at the moderate level. The change in cultural, thinking, belief, custom, tradition, in overall, was found at the high level.

             2.The accommodation features on social, economic, cultural of the local communities towards the opening of Phu Doo Border Checkpoint indicated that the communities showed adjustment towards the changes of social that affected the cross-border trading businesses. The communities along the border viewed that the impact towards cross-border business in entering AEC was found at the moderate level. The government officials in charge of cross-border trading viewed that the impact on cross-border trading in entering AEC were career and income attributes and land possession.

             3.The factors affecting the changes showed that, among 9 sets of independent variables, only 6 sets were able to explain the variance of social, cultural, economic changes of people in local communities due to the opening of Phu Doo Border Check Point at the significance level of .05 that included Economy, Attitude, Social, Culture, Ecology, and Population. 4.The guidelines in solving problems for government agencies and people in the local communities due to the opening of Phu Doo Border Checkpoint were that the government agencies, local administrative organization, local communities, and private organizations proposed the integrative problem-solving in 4 domains, that is, Physical Linkage, Human Linkage, Economic Linkage, and Political Linkage.



Keywords


การปรับปรนทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ จุดผ่านแดนถาวรช่องภูดู่ การพัฒนาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Social, Cultural, Economic Accommodation, Phu Doo Border Checkpoint, Development in Greater Mekong Sub-region)

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.