การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ในตำบล Long Term Care เขตสุขภาพที่ ๑ (DEVELOPMENT OF OPERATONL CAPACITY, AGE CARE MANAGER IN LONG TERM CARE DISTRICT, HEALTH PROMOTION REGION 1)

๊Umaporn Nimtrakul, Pimpaporn Pomjai

Abstract


บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และแนวทางการดำเนินงานผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ในตำบล Long Term Care ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในระบบการดูแลผู้สูงอายุ และถอดบทเรียนผลการดำเนินงานการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุในตำบล Long Term Care การดำเนินงานเก็บข้อมูลจากบุคลากรทางสาธารณสุขที่เคยผ่านการอบรม ในปี ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐ ในเขตสุขภาพที่ ๑ และเข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน ๒๖๘ คน

ผลการวิจัยพบว่า

          ประเด็นประเมินความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติ และแนวทางการดำเนินงานผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) ในตำบล Long Term Care พบว่า เมื่อเทียบความรู้ก่อน-หลังการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) มีคะแนนเพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000) ความคิดเห็นด้านทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) มีคะแนนเฉลี่ยรวมก่อนหลังเข้ารับการอบรมเพิ่มขึ้น โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.000) ด้านการปฏิบัติงานในการดูแลผู้สูงอายุ ของผู้ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ (Care Manager) พบว่ามีการปฏิบัติงานด้านผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยรวม ๓.๕๗ ±๐.๔๙ ข้อ

          ประเด็นประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ผู้เข้ารับการอบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด

          ประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในระบบการดูแลผู้สูงอายุจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พบว่าส่วนมากปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การทำงานเป็นทีมมีความมุ่งมั่นตั้งใจนโยบายชัดเจน ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย มีเป้าหมายคือ ผู้สูงอายุเป็นศูนย์กลาง กลไกในการขับเคลื่อนคือ ใช้ทีมสหวิชาชีพ กิจกรรมส่วนมากมีการประชุมชี้แจงการดำเนินงาน LTC จัดทำ Care planทำ Care conference ภัยคุกคามที่พบคือ อปท. ไม่เข้าร่วมกองทุน LTC ขาดการสนับสนุนงบประมาณ ขาดขวัญและกำลังใจ           

          ประเด็นถอดบทเรียนการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุในตำบล Long Term Care ทั้ง ๘ จังหวัด เกิด Best Practice อย่างน้อยจังหวัดละ ๑ เรื่อง จังหวัดเชียงใหม่ อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุติดเตียง โบกพัดกันลืม จังหวัดลำพูน เรื่อง One Page ในการดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทุกส่งเสริมสุขภาพ เอี๊ยมผ้าบรรจุยาเภสัชประจำบ้าน จังหวัดลำปางขับเคลื่อนงานผ่านสมัชชาสุขภาพอำเภอ จังหวัดพะเยามีการจัดตั้งศูนย์ฮอมฮัก จังหวัดแม่ฮ่องสอน การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุด้วยน้ำแร่และนวดแผนไทย จังหวัดแพร่ การบริหารมือด้วยมือที่สาม จังหวัดน่าน รูปแบบการพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงราย ขับเคลื่อนใช้หลัก “ตัวดึง ตัวแทน ตัวผลัก”

 

Abstract

          This research aimed to study to evaluate knowledge, attitudes, practices and guidelines for the operation of elderly care managers (Care Manager) in Long Term Care Sub district , assess the satisfaction of participants in rehabilitation, capacity development Elderly care manager ,exchange knowledge on health promotion activities for the elderly in the elderly care system and remove lessons learned from the operation of elderly care operations in Long Term Care Sub-district, conducting data collection from public officials who have passed Care Manager training in 2016 for 2017 and attend training for rehabilitation of the potential of elderly care managers in the amount of 268.

          The research found that Assessment issues, knowledge, attitudes, practices, and operations guidelines for the Care Manager in Long Term Care found that when comparing pre-post knowledge training to rehabilitate the elderly, the care manager (Care Manager) had Score increases Which was statistically significant difference (p = 0.000).Opinions of the elderly care attitudes of the participants in the rehabilitation training program for the development of the elderly care manager (Care Manager) had a higher average score after the training There is a statistically significant difference (p = 0.000) in the care operation of the elderly Of the participants in the rehabilitation manager development training program, the elderly care manager (Care Manager) found that the elderly care manager has an average score of 3.57 ± 0.49 items

          Issues to assess the satisfaction of trainees for rehabilitation, development of the elderly care manager The participants in the rehabilitation program of the elderly care managers were satisfied with the training in the highest level.

          The exchange of knowledge about the operation of health promotion for the elderly in the elderly care system. From the exchange of learning, it is found that most of the success factors are Teamwork, commitment, clear intention Receive cooperation from network partners The goal is The elderly are the center. The drive mechanism is Using a professional team Most activities have meetings to explain the operations of LTC, create care plan, take care conference, the threats found are LAO. Not joining the LTC. Lack of budget support. Lacking morale”

          Lesson Issues: Performance, Elderly Care in Long Term Care Sub-district, Lesson Removing in All 8 Provinces, Best Practice, from at least 1 province in every province.


Keywords


age care manager, long term care, Development

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.