ความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

Noparat Techapunratanakul, Parichat Buacharorn, Kanitta Lungkapin, Pawanrat Buochareon

Abstract


การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษาและเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า

ผลการวิจัย

  1. นักศึกษาที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน มีความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพูด มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือ ด้านการเขียน มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ด้านการฟัง มีความวิตกกังวลอยู่ในระดับน้อย
นักศึกษาที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่จำแนกตามเพศ อายุ โรงเรียน/วิทยาลัยที่จบมา ที่ตั้งของโรงเรียน/วิทยาลัยที่จบมา และคะเนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ ต่างกัน มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับคณะที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่ นักศึกษามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.