การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิคการสอน เอส คิว สี่ อาร์ ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Vichuda Makaeo, Parinyapast Seethong

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิผลของหลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน เอส คิว สี่ อาร์ ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน เอส คิว สี่ อาร์ ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ คือแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเหล่า (รัฐราษฎร์บำรุง) จำนวน 28 คน ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตร คู่มือการใช้หลักสูตร และแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ  การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน เอส คิว สี่ อาร์ ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลักสูตรมีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.29, S.D = 0.55) และประสิทธิผลของการเรียนตามหลักสูตร เท่ากับ 0.6014 2) นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรส่งเสริมความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิคการสอน เอส คิว สี่ อาร์ ร่วมกับการเขียนแผนภาพโครงเรื่อง มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

 

Abstract

          The objectives This arficle aimed 1) to establish and determine the effectiveness of the curriculum promotes reading comprehension skills using the teaching of SQ4R techniques in conjunction with diagram writing storyline for grade 2 students and 2) to study the results of using a curriculum for promoting reading comprehension by using the teaching SQ4R technique together with plot diagram writing for grade 2 students which was pre-experimental research and the pattern used in the experiment was one-group pretest-posttest design. The samples group used student Grade 2, Semester 2, Academic Year 2020 Banlao School, 28 students. This was obtained from cluster random sampling. The Study instruments was curriculum, curriculum manual and reading comprehension test. The statistics used for analyzed using percentage, mean, and standard deviation T-test dependent. The results of the research found that 1) The established curriculum was suitable overall at a high level (= 4.29, S.D = 0.55) and the effectiveness of learning according to the curriculum was 0.6014. 2) Students who have studied with the curriculum promotes reading comprehension skills using the teaching of SQ4R techniques in conjunction with diagram writing storyline had a statistically higher average score for reading comprehension after study at the level of .05


Keywords


Curriculum Development, SQ4R Techniques Diagram Writing Storyline, Reading Comprehension Ability

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.