ผลการใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพีกับวิธีการสอนแบบปกติที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการเรียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง

chakriya khankam, Thanarat Sirisawadi, Sasithorn Kanchanasuwan

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเรียงความด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพี ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและการเขียนเรียงความระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพีกับวิธีการสอนแบบปกติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการอ่านจับใจความกับความสามารถในการเขียนเรียงความด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง ซึ่งได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน จำนวนนักเรียน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพีและแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ แบบวัดความสามารถทางการอ่านจับใจความและการเขียนเรียงความ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าที และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถการเขียนเรียงความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพี สูงวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และความสามารถในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพี สูงกว่าวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (3) ความสามารถในการอ่านจับใจความกับความสามารถในการเขียนเรียงความด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบอาร์อีเอพี มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .85

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.