การบริหารการนำหลักสูตรคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 3

Niramon Tueakmon, Duangporn Oonjitt

Abstract


บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการนำหลักสูตรคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา และ 2) นำเสนอแนวทางการบริหารการนำหลักสูตรคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 23 คน และครู จำนวน 100 คนรวมจำนวน 123 คน จากโรงเรียนประถมศึกษาในอำเภอเมืองปาน จำนวน 23 โรงเรียน ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 98 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการหรือรักษาการแทนผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 19 คน ครูวิชาการ จำนวน 19 คน และครูผู้สอน จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ    2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารการนำหลักสูตรคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.80) และ สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.82) และแนวทางในการบริหารการนำหลักสูตรคุณลักษณะความเป็นพลเมืองโลกไปใช้ในโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 3 ด้าน 14 แนวทาง

 

Abstract

           This research study The objectives were to 1) study the management of the implementation of the Global Citizenship Characteristics Curriculum in primary schools; and 2) to propose guidelines for the management of the implementation of the Global Citizenship Attribute Curriculum in primary schools. Instead of 23 school directors and 100 teachers, totaling 123 people from 23 primary schools in Mueang Pan District, in the academic year 2020 The sample group consisted of 98 people, consisting of 19 directors or acting directors, 19 academic teachers, and 60 teachers. The data collection consisted of    1) a 5-level estimation questionnaire 2) a suitability and feasibility assessment form. Data were analyzed using descriptive statistics such as percentage, mean, standard deviation. and content analysis

            The results showed that the current state of the administration of the global citizenship curricula to use in primary schools Overall, the mean was at a high level ( =3.80) and desirable condition. Overall, the average was at the highest level ( = 4.82) and the guidelines for managing the implementation of the Global Citizenship Attributes Curriculum in primary schools consisted of 3 areas, 14 minor guidelines.


Keywords


administration, curriculum implementation, elementary

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.