การเที่ยวกลางคืนของเยาวชนในสถานบันเทิง

เอื้อมทิพย์ ศรีทอง

Abstract


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของเยาวชนในสถานบันเทิงเดอะแบงค์ 2) เพื่อศึกษาสาเหตุการเที่ยวกลางคืนของเยาวชนในสถานบันเทิงเดอะแบงค์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของเยาวชน จำแนกตามเพศ อายุ สถานศึกษา รายได้ ที่อยู่อาศัยและสถานภาพของบิดา-มารดา ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมจากเยาวชน ที่ใช้บริการสถานบันเทิงเดอะแบงค์ ที่มีอายุตั้งแต่ 20-25 ปี จำนวน 3 แห่ง โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (ระหว่างวันที่ 11 - 13 และ 22 - 24 กันยายน พ.ศ. 2560) ได้จำนวน  100 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ (percentage) , ค่าเฉลี่ย (Mean) , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) , การทดสอบ t-test , การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบรายคู่โดยวิธีของเซฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า เยาวชนที่มาเที่ยวในสถานบันเทิงเดอะแบงค์ทั้ง 3 แห่ง เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 ปีขึ้นไป รายได้มาจากผู้ปกครองให้ต่อเดือน เยาวชนมาเที่ยวสถานบันเทิงเดอะแบงค์ อาศัยอยู่หอพัก  พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของเยาวชน เลือกเวลาไปสถานบันเทิงเวลา 23.01 – 01.00 น. ใช้เวลาที่อยู่ในสถานบันเทิง 2 - 4 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายประมาณ 101-200 บาท/ครั้ง เหตุผลในการมาเที่ยวคือ สังสรรค์กับหมู่เพื่อนและคลายเครียด พฤติกรรมที่อยู่ในสถานบันเทิงคือ ดื่มเครื่องดื่มแอกฮอล์ Blend 285 เลือกไปเที่ยววันจันทร์ ความถี่ในการไปเที่ยว คือ อาทิตย์ละครั้ง สาเหตุของการเที่ยวกลางคืน พบว่า มีสาเหตุมาจากด้านตัวบุคคลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 3.66 รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.25 และด้านครอบครัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของเยาวชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ สถานศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่รายได้และสถานภาพของบิดา-มารดา พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืน, เยาวชน, สถานบันเทิง

 

ABSTRACT

 

The objectives of this research  were : 1) to study the nightlife behavior of youth in the Bank Entertainment, Lopburi Province, 2) to determine the causes of nightlife behavior of youth in the Bank Entertainment, Lopburi Province, and 3) to compare the nightlife behavior of youth, classified by sex, age, educational institutions, income and residential status of parents. The sample of this study consisted of 100 youth aging between 20-25 years who came and took nightlife services at the Bank Entertainment during 11 to 13 and 22 to 24 September 2017, being drawn by purposive sampling technique. The tool used for data collection was the questionnaire. The statistical techniques such as frequencies, percentage, average, standard deviation (S.D.) were employed  for data analysis. The analysis was also done through t-test for verifying the hypotheses in order to test the average difference between the two groups and one-way analysis of variance (One-way ANOVA) for testing the difference between the averages from three or more groups and for testing paired group, the Scheffe’s method was conducted. The study revealed that majority of youth taking nightlife services at the Bank Entertainment were female, aging 20 years and over, with having received 4,000 to 5,000 baht per month from their parents. Most of them stayed in private hostels/ dormitories. Behavior of nightlife of respondents at the Bank Entertainment was found at  11.01 PM – 01.00 AM. Period of staying in the Bank was about 2 – 4 hours. The average cost for this was 101 – 200 Baht per visit. The reasons for visiting the Bank were a friendship party and relaxation among friends. Behavior in the Bank Entertainment was  Blend 285 alcohol drinking. Date to visit mostly was Monday. Frequency of visit was once a week. The cost to use the service each time came from the guardians who gave for learning payments. The causes of nightlife behavior were from personal aspect ( = 3.66), then environmental ( =3.25), and familial one ( =3.15), respectively. Sex, age and  educational institutions had no significant differences, whereas income and residential status of parents had statistically significant differences at 0.05 level of confidence.

 

Keywords : Nightlife Behavior, Youth, The Entertainment

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com