กระบวนการการพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำสงฆ์ The process of developing to become a Buddhist leader

Phrakhru Sangkhakitsophon Sangkhakitsophon

Abstract


“เมื่อฝูงโคว่ายข้ามน้ำถ้าโคจ่าฝูงไปคด โคหมดทั้งฝูงนั้น ก็ไปคดตามกันเพราะมีผู้นำที่ไปคดฉันใด ในหมู่มนุษย์ ก็ฉันนั้น บุคคลผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ หากบุคคลผู้นั้นประพฤติไม่เป็นธรรมหมู่ประชาชนนอกนั้นก็จะประพฤติซ้ำเสียหาย แว่นแคว้นทั้งหมดก็จะยากเข็ญหากผู้ปกครองเป็นผู้ไร้ธรรม เมื่อฝูงโคว่ายข้ามน้ำถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคหมดทั้งฝูงนั้นก็ไปตรงตามกันเพราะมีผู้นำที่ไปตรงฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น บุคคลผู้ใดได้รับสมมติให้เป็นใหญ่หากบุคคลผู้นั้นประพฤติธรรมหมู่ประชาชนนอกนั้นก็จะพลอยดำเนินตาม ทั้งแว่นแคว้นก็จะอยู่เป็นสุขหากผู้ปกครองตั้งอยู่ในธรรม” (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). 2545: 2)

ตามนัยแห่งพระพุทธภาษิตดังกล่าวข้างต้นย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้นำมีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง กล่าวคือหากชุมชนหรือสังคมใดมีผู้นำที่ดีมีคุณธรรมก็จะก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและอยู่เย็นเป็นสุขตรงกันข้าม หากชุมชนหรือสังคมใดมีผู้นำที่ขาดคุณธรรมก็จะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายและความเสื่อมทรามหายนะ อย่างไรก็ดีไม่ว่าผู้นำจะมีลักษณะเช่นไรชุมชนและหรือสังคมก็ย่อมมีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้นำเพราะผู้นำคือภาพรวมของชุมชนและหรือสังคมนั่นเอง


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสัคม
ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
คณะสังคมศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

โซน B ชั้น M อาคารเรียนรวม เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน 
ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13170 
โทรศัพท์  +66(0) 3524 8000 ต่อ 8278
โท
รสาร   +66(0) 3524 8000 ต่อ 8279
มือถือ     +66(0) 8 1268 1128

http://www.journal-socdev.mcu.ac.th/
jsocdev@gmail.com