การฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารชุมชนท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี (REVIVAL OF COMMUNITY RESOURCES FOR FOOD SECURITY IN THA CHALAEB COMMUNITY, BANG KAJA SUB-DISTRICT, MUANG CHANTABURI, CHANTABURI PROVINCE)

Luechai Wongthong, Krisda Nantapetch

Abstract


บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องการฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารชุมชนท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมป่าชายเลนเขตพื้นที่ชุมชนท่าแฉลบ และวิธีการร่วมกิจกรรมของชาวบ้านในชุมชนกับองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าชายเลนทางทะเลเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยได้ทำการประยุกต์ตัวแบบ CIPP และ RBM มาใช้ในการสร้างกรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษา ประชากร คือ ชาวบ้านในชุมชนท่าแฉลบในพื้นที่หมู่ที่ ๙ และหมู่ที่ ๑๐ ตำบลบางกระจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จากผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมกับโครงการฯ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม/ชมรมต่างๆ และเจ้าหน้าที่โครงการฯ จำนวน ๑๓๗ ครัวเรือน โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (Depth interview) และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Interview) ด้วยวิธีการถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงและจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่ม/ชมรมต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่โครงการฯ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้นจำนวน ๒๐ คน โดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)

          ผลการศึกษา พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนท่าแฉลบหมู่ที่ ๙ และหมู่ที่ ๑๐ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนโดยรวมอยู่ในระดับน้อย ผลจากการดำเนินโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารชุมชนท่าแฉลบ ที่ดำเนินโครงการมาแล้ว ๒ ปี ชาวบ้านในชุมชนได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยต้นไม้ที่ปลูกไว้ในป่าชายเลนมีมากเพิ่มขึ้นและเริ่มยืนต้นได้มากขึ้น มีความหลากหลายของพันธุ์ไม้ในป่าชายเลนเพิ่มขึ้น
และเริ่มมีสัตว์น้ำมาอาศัยในบ้านปูบ้านปลามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน จากผลการดำเนินโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชุมชนเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารชุมชนท่าแฉลบ นำโดยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านในชุมชนซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อดำเนินการ และได้มีกลุ่มเครือข่ายอาสาสมัคร กลุ่มพนักงานบริษัทกระทิงแดง กลุ่มหน่วยงานราชการ กลุ่มนักเรียน กลุ่มนิสิต กลุ่มนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เข้ามาร่วมกันทำกิจกรรมกับชาวบ้าน อาทิ การปลูกป่าชายเลน การสร้างปะการังเทียม  และการสร้างบ้านปู บ้านปลา เป็นต้น

Abstract

          The objectives of this research were to study people’s participation in environmental conservation of estuarine ecosystems in Tha Chalaeb and to study the methods of community participation with all parts of the organizational network in reviving estuarine community resources and environment for food security.  The study utilizes the CIPP and RBM models for the conceptual framework used in the research. The data collection were used both In-depth interviews and focus-group with key informants – consisting of village heads, local leaders, interest or community groups leaders, and project officers – were employed to gather direct experience in their respective responsibilities and from the general local conditions.  The qualitative data were analyzed using content analysis, and a questionnaire survey of local leaders, household heads and the people of Tha Chalab involved in the project totaling 137 households was analyzed using descriptive statistics of frequency, percentage, mean, and standard deviation.

          The results indicated that village heads and locals of the community established a committee to process and work with volunteer groups, Krathing Daeng (Red Bull) company staff, and various students groups from many educational institutions who participated in activities such as planting mangroves, creating artificial reefs, and rejuvenating fish and crab habitats.  Over the past two years of the projects’ progress, the local community had seen real change, including that the mangrove trees had grown significantly, there was more species variety in the estuarine forest regime, and marine animal species variety had obviously increased in the rejuvenated fish and crab habitats, for example a range of fish species, shrimp, crabs, mollusks, etc.


Keywords


การฟื้นฟู, ทรัพยากรธรรมชาติ, ความมั่นคงทางอาหาร (revival, community resources, food security)

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.