บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่นในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย

PhrakhruPaladSomchai Nissabho, Prasong Hassarin, Thutsapong Wongsawad

Abstract


บทคัดย่อ

           การวิจัยบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่นในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ประชากรที่ใช้วิจัยคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ 8 หมู่บ้านในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป้อม จำนวน 884 คน มีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่กลับ จำนวน 269 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที ค่าเอฟ การทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 60-69 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาประถมศึกษา และลักษณะที่อยู่อาศัยอยู่กับบุตรหลานหรือญาติ การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวส่วนมากได้รับการสนับสนุนด้านวัตถุสิ่งของและการบริการช่วยเหลือ การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองส่วนมากเป็นภาวะทางกายภาพ และบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

            ผลการเปรียบเทียบบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และลักษณะการอยู่อาศัย ที่ต่างกัน มีบทบาทการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD พบว่าผู้สูงอายุที่มีลักษณะที่อาศัยกับกิจกรรมทางศาสนาและลักษณะที่อาศัยกับกิจกรรมกีฬาและนันทนาการมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  

Abstract

            This study Role of the elderly group towards participation in social development community and local in the district area Banpom administration organization, Khirimat District, Sukhothai Province, the study population was 9 community elderly people by samples were randomly sampled using 269 non-return random sampling. The questionnaire was used as a research tool. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation the hypothesis was tested by means of statistic T-test, F-test, LSD and Pearson correlation coefficient

             The research found that most male of the elderly are 60-69 years of age, and the living characteristics with children or relative’s social support from most families is supported by materials and support services. Perceived self-esteem is physical condition. The role of participation in social activities of the elderly, the overall at moderate level

              Comparison of participation in role of the elderly group towards participation in social development community and local is gender, age, status, education level and different living styles play an active role in social activities at 0.05 of significance, the difference in LSD was found to be related to age, religion and occupation, the different at 0.05


Keywords


บทบาท, กลุ่มผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม, การพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่น

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.