การป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในภาคเหนือ

Thada Chalernkusol, Phrara chkhemakorn, Supot Kaewphaitoon, Supitchaya kunka, Kanjana Damjutti

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ด้วยนวัตกรรมการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลความรู้การป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ ด้วยนวัตกรรมการป้องกันและการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research)  โดยทำการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Analysis) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ได้แก่ กลุ่มพระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองแพร่ จำนวน 100 รูป พระสงฆ์ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดน่าน จำนวน 100 รูป

          ผลการวิจัย พบว่า 1) การป้องและเสริมสร้างสุขภาพในภาพรวมของกลุ่มพระสงฆ์เกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ภาวะน้ำหนักเกิน (อ้วน) โรคไขมัน ในเส้นเลือด และโรคเบาหวาน ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้หลัก 3 อ 3 ส (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ สติ สิ่งแวดล้อม การสร้างเครือข่าย) โดยการเลือกพิจารณาที่จะฉันอาหาร ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที จัดการความเครียด โดยใช้หลักจิตภาวนาทำให้จิตใจสงบสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ พร้อมให้ทุกภาคส่วน  มีส่วนร่วมในการดำเนินการ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลความรู้การป้องกัน และการเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์ ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม ในภาพรวมของกลุ่มพระสงฆ์หลังได้รับการถวายความรู้ เกี่ยวกับความรู้ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยมีคะแนนความรู้เฉลี่ย เพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ยกเว้นโรคเบาหวานมีความรู้เฉลี่ยต่ำกว่า ร้อยละ 80

 

 

Abstract

          This research article aimed 1) to prevent non-communicable diseases and promote the health of Buddhist monks’ by applying innovation concerning health promotion and prevention of non-communicable diseases, 2. to evaluate effectiveness of knowledge cultivation relating to Buddhist monks’ health promotion and prevention of non-communicable diseases before and after the use of formulated innovation. It was a mixed method research It used not only documentary analysis but also action research. The simples were the Buddhist monk who lived at the Muang Phrae District about 100 monks and the Buddhist monks who lived of the Muang District, Nan Province about 100 monks. The data analysis were used mean () standard deviation (S.D.) and percentage (%)  

           The results were found as follows;

          1) Health promotion and prevention of non-communicable diseases, were Hypertension, Obesity, High Cholesterol and Diabetes, could be done by applying “Sam Aor Sam Sor” principles: Food, Exercise, Emotion, Consciousness, Environment, and Network. Buddhist monks should consider the food nutrition before consuming. They should have physical movement 3 times a week at least 30 minutes a day. Moreover, the stress management by used mental development principles for peaceful mind making, environmental creating to take care the health by emphasizing all part participation in conduction. 2) The result of evaluation of the effectiveness the knowledge health promotion and prevention of non-communication diseases before and after applying innovation. The results indicated that after received knowledge score were a higher 80 percent revel, it was except for diabetes, with an average were lower than 80 percent of literacy.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.