การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเขียนอักษรคันจิ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเทคนิคมอร์ฟฟิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Didchamakorn Yodwongruan, Kedthip Sirichaisin

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างหลักสูตรส่งเสริมการเขียนอักษรคันจิ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเทคนิคมอร์ฟฟิ่งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการเขียนอักษรคันจิโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเทคนิคมอร์ฟฟิ่งสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสรรพวิทยาคม จังหวัดตาก จำนวน 10 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา ญ 30210 ภาษาญี่ปุ่น อ่าน-เขียน 4 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรส่งเสริมการเขียนอักษรคันจิโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเทคนิคมอร์ฟฟิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เอกสารประกอบหลักสูตรฯ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนอักษรคันจิ วิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า

          1) หลักสูตรส่งเสริมการเขียนอักษรคันจิโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำร่วมกับเทคนิคมอร์ฟฟิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 7) แนวทางและกระบวนการการจัดการเรียนการสอน 8) สื่อการเรียนรู้ 9) การวัดและประเมินผลของหลักสูตร 10) เงื่อนไขของการนำหลักสูตรไปใช้ ผลการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (= 4.33 , S.D.= 0.58)

          2) นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรส่งเสริมการเขียนอักษรคันจิโดยใช้รูปแบบการเรียน การสอนเน้นความจำร่วมกับเทคนิคมอร์ฟฟิ่ง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 คิดเป็นร้อยละ 83.66 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนทำคะแนนได้สูงกว่าเกณฑ์ทุกคน

 

Abstract

          The objectives of this article aimed 1) to construct the curriculum development to enhance writing of Kanji characters using memory model and morphing techniques for grade 11 students and 2) to study the results of using curriculum development to enhance writing of Kanji characters using memory model and morphing techniques for grade 11 students. The samples size were 10 students who studied in grade 11 of Sappawittayakom School in Tak Province. They studied Japanese Reading and Writing 4 in the second semester of academic year 2020. The method used was the purposive sampling. The instruments used in this study were1) curriculum development to enhance writing of Kanji characters using memory model; 2) morphing techniques for grade 11 students, supplementary documents relating to the curriculum which were created by the researcher; and 3) the proficiency test of writing Kanji characters containing 30 item. The statistics used in the analysis were the percentage, the average and standard deviation.

          The results of research were as follows :

          1) The curriculum development to enhance writing of Kanji characters using memory model and morphing techniques for grade 11 students had 10 factors : 1) background and significance of curriculum 2) curriculum principles   3) curriculum goals 4) competencies of learners 5) desired characteristics         6) curriculum structures 7)course syllabus and teaching methods 8) instructional media 9) curriculum assessment and evaluation and 10) conditions of using curriculum. The result of curriculum quality inspected by the experts revealed high level of the curriculum's suitability. ( = 4.33, S.D. = 0.58)

          2) The students who studied the curriculum development to enhance writing of Kanji characters using memory model and morphing techniques for grade 11 students had the post-test scores higher than the rubric score of 70 percent, accounted for 83.66 percent. When considered individually, all students got scores higher than the rubric score.


Keywords


Curriculum development, Writing Kanji characters, Memory Model, Morphing Techniques

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.