รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูงในการสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจกับการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดน่าน

Buddhinan Boonruang

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูงในการสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจกับการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้นำกลุ่มในชุมชน จำนวน 253 ชุมชน โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่มย่อย ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ดำเนินการศึกษาทั้งวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า

          รูปแบบการบริหารจัดการกลุ่มที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูงในการสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจกับการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดน่าน ได้แก่ “ISEP-Model” ประกอบด้วย การบริหารจัดการกลุ่มบนพื้นที่สูง (Integration) การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูง (Stability) การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม (Equilibrium) และ   การสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มบนพื้นที่สูง (Potential) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรดำเนินการ อีกทั้ง ในชุมชนพื้นที่จังหวัดน่านมีต้นทุนทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากอยู่แล้วแต่ขาดการบริหารจัดการที่ดี หากสามารถดำเนินการบริหารจัดการหรือมีรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีก็จะสามารถพัฒนาสู่ความยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด ผลจากการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้นของผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้น หรือ “ISEP-Model” มีความเหมาะสม สอดคล้อง และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบริหารจัดการกลุ่มเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนพื้นที่สูงได้

  

 

Abstract

            The objective of this article was to develop a group management model that contributes to the highland economic development in balancing economic goals and establishing fairness and reducing social inequality of ethnic groups. The sample groups used in the study were Leadership in 253 communities were conducted by using questionnaires, interviews and small group discussions. Carry out data collection Using mixed research (Mixed Methods) to conduct both quantitative and qualitative research. The study found that

             A group management model that contributes to high-level community development in building economic relations with the creation of fairness and the deterioration of social progress of transport groups in Nan Province, including ISEP-Model. " Principles of Group management on the highland (Integration) Community economic development on the highland (Stability), creating fairness and reducing social inequality (Equilibrium) and strengthening the group on the highland (Potential). Model had developed that was very important to be done, and in Nan communities, there were legal and administrative bodies or there were management models that Good if management can be carried out or has a management style that As a result of the developed model training, experts are of the view that the developed model, or the "ISEP-Model", was fair and can be used to provide the best possible solution. There was benefit in group management to develop the community economy at the top.


Keywords


group management, community economy, inequality, highland ethnic groups

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.