ถอดบทเรียนโครงการพัฒนารูปแบบพหุภาคีบนพื้นที่ที่มีความหลากหลายเชิงภูมิศาสตร์และชาติพันธุ์

Vikanda Maifaey, Praphaiphan Kaewkasem, Koblap Areesrisom

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการตำบลต้นแบบการจัดการขยะและของเหลือใช้อย่างครบวงจร ดำเนินการในพื้นที่ตำบลห้วยโรง อำเภอ ร้องกวาง จังหวัดแพร่ ปี พ.ศ. 2559 เป็นโครงการพัฒนารูปแบบ พหุภาคีที่เน้นการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในทุกกระบวนการเพื่อแก้ไขปัญหาต้นทางของขยะ ดำเนินการสำรวจขยะจาก 202 ครัวเรือนในพื้นที่ 8 หมู่บ้านของตำบลห้วยโรง เพื่อออกแบบโครงการฝึกอบรมการจัดการขยะที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งมีข้อแตกต่างด้านภูมิศาสตร์ ชาติพันธุ์ โครงการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่ 1 สำหรับประชาชนทั่วไปจำนวน 48 คน และรุ่นที่ 2 สำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ จำนวน   59 คน บทเรียน ที่ทุกภาคส่วนได้รับจากโครงการดังกล่าว พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ตระหนักในปัญหาและการมีส่วนร่วมในการ จัดการขยะ และต้องการเข้ารับการฝึกอบรมการจัดการขยะเพราะไม่มีประสบการณ์ ความรู้ และทักษะในการ จัดการขยะ ผลการสำรวจขยะทั้งในครัวเรือนและพื้นที่การเกษตร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทรีไซเคิลที่ต้องวางแผนในการ คัดแยกขยะร่วมกัน และกำหนดข้อตกลงในการจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อขยะจากภายนอก ส่วนขยะอินทรีย์และขยะทั่วไปนั้นสามารถสร้างอรรถประโยชน์ใช้ในครัวเรือนและใช้ในการเกษตร

 

 

Abstract

            This article aimed to take lessons learned from the experiences of the authors who had participated in the project of a model sub-district about completely waste and residue management. That operated in Huai Rong Subdistrict, Rong Kwang District, Phrae Province, 2016. This was a multilateral development project that emphasized participation with all sectors in every process to solve the problem of the source of waste. It had conducted waste survey from 202 households in 8 villages of Huai Rong Sub-district to design a waste management training program properly with the context of the area and the community people‘s way of life that had difference in geography and ethnicity. The training program was divided into 2 groups, the first group for 48 people and the second group for 59 children and youth in the area. The lesson learned by all sectors from the project found that most people were aware of the problem and participation in waste management and they would had attend waste management training since because they did not have experience, knowledge, and skills in waste management. The survey results of household and agricultural waste found that mostly recycled waste that must be planned in separation of waste while set up sale and purchase agreements with external waste buyers. Organic waste and general waste can be added advantage for household utility and agriculture.


Keywords


Lesson, Multilateral party, Diversity, Geography, Ethnography

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.