การพัฒนาบอร์ดเกมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษา

wacharaporn jaiwongkon, Kanitkan Pankaew

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบอร์ดเกมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนผ่านบอร์ดเกม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบอร์ดเกม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านศรีบุญเรือง) อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บอร์ดเกม เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ของจำนวนนับ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

           ผลการวิจัยพบว่า 1) บอร์ดเกมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษามีคุณภาพเท่ากับ 4.87 อยู่ในระดับมากและ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.11/81.78 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์  ที่กำหนดไว้ 2) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่เรียนผ่านบอร์ดเกมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานหลังเรียน (μ = 4.15, σ = 0.65) สูงกว่าก่อนเรียน (μ = 2.81, σ = 0.76) และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีต่อการเรียนผ่านบอร์ดเกมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80

  

 

Abstract

           The objectives of this article aimed 1) to generate and investigate the efficiency of the board game by learning collaboratively with the basis of the problems in order to enrich the prathommasuksa students’ critical thinking followed by criteria 80/80, 2) to compare the prathommasuksa students’ critical thinking via the board game and 3) to study the prathommasuksa students’ satisfaction of the board game. The study sample consisted of 21 students selected by purposive sampling. They were studing at prathommasuksa students’ 4 Municipal school 5 (Bansribunreaung) Amphoe Meaung Lampang academic year 2563. The research’s instrument included the board game in addition, subtraction, multiplication, and division of counting numbers, the lesson plans, the evaluation form, and the satisfaction survey form. The statistics for data analysis were the percent, the average, and the standard deviation.

          The results of the research were as follows : 1) It was found that the board game based on learning collaboratively with the basis of the problems in order to enrich the prathommasuksa students’ critical thinking equals 4.87 higher level. The efficiency equals 80.11/81.78 which met the specified criteria. 2) The prathommasuksa student’s critical thinking skills via learning with the board game using the basis of the problems were revealed that the pre-test (μ = 4.15, σ = 0.65) was higher than the post-test (μ = 2.81, σ = 0.76). 3) The prathommasuksa students’ satisfaction by learning collaboratively with the basis of the problems through the board game was at the highest level 4.80.


Keywords


board game, cooperative learning using problem based learning, critical thinking skills

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.