การพัฒนาการเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงาน โดยการเรียนรู้แบบร่วมกันเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีมของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง

Paveena Kruachanta, Kittiya Plodkaew

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของเว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานโดยการเรียนรู้แบบร่วมกันสำหรับนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีมก่อนและหลังการเรียนด้วยเว็บไซต์การจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานโดยการเรียนรู้แบบร่วมกันของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 สาขางานยานยนต์ (กลุ่มงานสี กลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า และกลุ่มเทคนิคยานยนต์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคนิคลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 60 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานโดยการเรียนรู้แบบร่วมกัน แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) เว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานโดยการเรียนรู้แบบร่วมกันสำหรับนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มีคุณภาพในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 และมีประสิทธิภาพ แบบหนึ่งต่อหนึ่ง เท่ากับ 80.83/82.50 และแบบภาคสนาม เท่ากับ 80.88/82.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่เรียนเว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์แบบบูรณาการการเรียนกับการทำงานโดยการเรียนรู้แบบร่วมกัน มีทักษะการทำงานเป็นทีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

 

 

Abstract

          The objectives this article aimed 1) to create and find the efficiency of website for work integrated learning by collaborative learning for diploma program students to by the standard criteria of 80/80 and 2) to compare the teamwork skills between before and after using website for Integrated learning by collaborative learning approach. The samples employed in this research study were the sixty first-year diploma students, majoring in the Automotive department; Automotive color major, Electrical Automotive major, and Technical Automotive major of Lampang Technical College in the second semester of 2020 academic year. The sample were selected by cluster random sampling. The research tools were the website for work integrated learning by collaborative learning, media quality assessment form, achievement test, and teamwork skill assessment form. The statistics utilized for the data analysis were percentage, mean, standard deviation.

          The results were as follows; 1) Website for work integrated learning by collaborative learning had the quality was at 4.79 as the highest level and the effectiveness of individual tryout was at 80.83/82.50 and field tryout was at 80.88/82.75. These were all based on the determined criteria. 2) The post-study teamwork skill of the diploma students, instructed through the website for work integrated learning by collaborative learning was higher than the pre-study’s.


Keywords


Work Integrated Learning Online, Collaborative Learning, Teamwork Skills

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.