หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมในยุค 4.0 BUDDHIST TEACHINGS ON THE DEVELOPMENT OF SOCIAL IN 4.0

Narong Padkeaw

Abstract


   หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมในยุค 4.0 ในปัจจุบันตามนโยบาย Thailand 4.0 พบว่า สังคมไทยที่ผ่านมายังติดกับดัดรายได้ปานกลางก็เพราะ สังคมไม่สามารถที่จะขยับขึ้นไปแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เนื่องจาก มนุษย์ไม่มีการพัฒนาตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความไม่สมดุลเท่าเทียมกัน หลักพระพุทธศาสนาจึงเป็นศูนย์รวมคำสั่งสอนให้มนุษย์เกิดความเข้าใจในการประพฤติปฏิบัติเพื่อการดำเนินชีวิตด้วยความสุข และยุติธรรม หลักศาสนาจึงเป็นตัวเชื่อมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การยึดหลักแนวคิดเรื่องทางสายกลาง “มัชฌิมาปฏิปทา” อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ จากแนวคิดนี้เป็นหนทางที่มุ่งตรงสู่จุดหมายที่ดีงาม โดยไม่ข้องแวะในทางสุดโต่ง โดยมีความรู้ความเข้าใจเป็นแกนนำสร้างสรรค์พฤติกรรมและจิตใจให้ดีงามไม่เบียดเบียนผู้อื่น และตนเอง สร้างความยั่งยืนในสังคมอย่างมีคุณภาพ ดังนั้น สังคมไทยต้องร่วมมือกันในการหลุดพ้นกับดักของรายได้ปานกลางเหล่านี้ ผ่านการขับเคลื่อนด้วยปัญญา 1) สร้างความมั่นคงแก่สังคม 2) ลดความเหลี่ยมล้ำทางสังคม 3) ยึดหลักธรรมในการดำรงชีวิต ในลักษณะของการบูรณาการในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาสร้างคุณค่าให้แก่สังคมมากกว่าตนเองโดยยึดหลักสิกขา 3 หรือไตรสิกขา ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดสังคมที่เปี่ยมสุข (Happiness) และเป็นสังคมที่มีความสมานฉันท์ (Harmony) เป็นสังคมที่มีความพอเพียง โดยมีคนชนชั้นกลางเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เกิดความเท่าเทียมในสังคม ด้านความเหลื่อมล้ำอยู่ในระดับต่ำ มีสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ดี ซึ่งในท้ายที่สุดก็จะสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนแก่ประเทศต่อไป

   

    The Buddhist teachings on social development in 4.0 Era nowadays regarding to Thailand policy, found that: From the passed Thai’s social still adhere to medium income level toward to the highest income level people in the country. We trapped with the medium income level people in the country this cause we could not move to compete with the competitor countries that move with science, technology, innovation and creativity. Therefore,population do not have much development according to the transformation that occurred to changes modern world. Thus it caused the problem in the inequality and the unbalance in social. The religion, Buddhism instruction become the center urgings people cause them understand the behavior and the way of happiness lives and justify. Buddhism instruction is also the connection that make sustainable development for example, the adhering Buddhism instruction on the way of notion toward to the middle way about “Moderate Practice”. The noble path, which has eight factors: Right View, Right Resolve, Right Speech, Right Conduct, Right Livelihood, Right Effort, Right Mindfulness and Right Concentration. From this way of notion is the way toward to be good intention we don’t involve in the inordinate way. Based on the knowledge and understanding which was the main creative of behavior and purity mindset, we never interrupted on others.

Consequently Thai society must cooperate to build our social sustainability with good quality, Thai’s social must be united to be free from the medium income level people in the country then moved by intellect: 1) To build stability social 2) To reduce social inequality 3) Principles of living life. The characteristics of integration in Buddhist doctrine it creates value for the society more than itself, the threefold training morality, concentration and wisdom. Thus, the main component that made the social full of happiness and harmonious the social will be sufficiently and make the medium income level people in the country be equality in social. Thus, the inequality will be in the lower level. Then, the environment will be in good condition and healthier life. Last but not least the Buddhism instruction will make the social stability, prosperity and sustainable further to the country.


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.