การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

พระราช ปฏิภาณโกศล, กฤตสุชิน พลเสน

Abstract


งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 2. เพื่อศึกษาหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  3. เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

            ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา ปริญญาโทชั้นปีที่ 1 ภาคปกติ 12 รูป/คน ชั้นปีที่ 2 ภาคปกติ 10 รูป/คน ชั้นปีที่ 1 ภาคนอกเวลาราชการ 8 รูป/คน ชั้นปีที่ 2 ภาคนอกเวลาราชการ 5 รูป/คน ระดับปริญญาเอก 19 รูป/คน รวมทั้งหมด 54 รูป/คน และมีความรู้ด้านพุทธศาสนาและหลักทิฏฐธัมมิกัตถะ 4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล ที่ผ่านการตรวจคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาได้ใช้หลักธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4 ในพุทธศาสนาด้วยการพัฒนาในด้านกายใจ เพื่อให้ประสบความสำเร็จและความสุขในชีวิต โดยการใช้หลักวิริยะธรรม สุจริตธรรม กัลยาณมิตตธรรม เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และหลักความพอเพียง แยกตามหลักธรรมทั้ง 4 คือ

1. หลักอุฏฐานสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยความหมั่น เป็นหลักธรรมในการนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการศึกษา การพัฒนาปรับปรุงสถานที่อยู่อาศัย รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตขอนตนได้

2. หลักอารักขสัมปทา คือ ความถึงพร้อมด้วยการรักษา เป็นหลักธรรมในการบริหารทรัพย์ที่หามาได้ด้วยธรรม ด้วยการแบ่งให้ผู้มีพระคุณพ่อแม่ บำรุงครอบครัว ทำบุญ และเก็บไว้ในคราวจำเป็น อย่างพอเพียง

3. หลักกัลยาณมิตตตา คือ ความถึงพร้อมด้วยการมีมิตรดี เป็นหลักธรรมขั้นพื้นฐานในการคบมีสหาย ว่ามิตรคนไหนดี มิตรคนไหนไม่ดี มิตรแนะนำประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์ มีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง

4. หลักสมชีวิตา คือ ความถึงพร้อมด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ดี เป็นหลักธรรมที่นำไปใช้ในการประกอบอาชีพ การดำรงชีวิตตามหลักธรรมวินัย กฎหมาย ตลอดถึงการรักษาศีล เจริญสมาธิ ปัญญา เพื่อสันติสุขแก่ตนและสังคม


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.