สตรีนิยมในมิติเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ,Feminism towards Buddhist Economics


Abstract


การแข่งขันกันบริโภคหรือบริโภคเพื่อหน้าตา หรือบริโภคด้วยการถูกชักนำด้วยสื่อกระแสหลัก ซึ่งได้ใช้                กลยุทธ์ทางการตลาด โดยพื้นฐานพุทธศาสนาไม่ได้ปฏิเสธความมั่งคั่ง (wealth) หรือระบุว่าความมั่งคั่งเป็นความชั่วร้ายในสองเหตุผลก็คือ หนึ่ง ความมั่งคั่งทางวัตถุสามารถป้องกันเราจากความลำบากและความยากจน และสองช่วยเหลือมนุษย์ในการพัฒนาความเมตตา-กรุณา ถือเป็นกุศลจิต และทำให้สังคมมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะความสุขที่แท้จริง มิได้เกิดจากการบริโภควัตถุแต่อย่างใด หากแต่เกิดขึ้นจากสภาวะของจิตใจภายใน จากมุมมองของพุทธศาสนา คุณประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์ และการพัฒนาเชิงวัตถุนั้น ก็เป็นเพียงแต่การนำเสนอปัจจัยในการดำรงชีวิต เพื่อที่จะอำนวยให้มนุษย์นั้นสามารถใช้เวลา และพลังงานในการลงมือปฏิบัติและพัฒนาทางจิตยิ่งๆ ขึ้นไป การพัฒนาและการถือกำเนิดของดัชนีที่เป็นความสุขแห่งชาติ (gross national happiness) (GNH) หรือดัชนีในลักษณะเดียวกัน ในอนาคตมีเพียงจะก่อคุณูปการเฉพาะในแง่มุมทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ดัชนีดังกล่าว อาจจะเป็นคำตอบของความหมายแห่งการมีชีวิตและความอยู่รอดของมนุษยชาตินั่นเลยทีเดียว


Keywords


Feminism; Buddhist Economics

Full Text:

PDF Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.