แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาล ตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

สมจิต ขอนวงค์, ธนนันท์ คุ้มถิ่นแก้ว

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนจำนวน 383 คน จากสูตรของ Taro Yamane โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1) สภาพและปัญหาการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=๔.๓๔, S.D=.๑๐๔) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาด้านการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิดและความสำคัญของนโยบาย มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาปัญหาด้านกระบวนการส่งเสริมการมีส่วนร่วม และค่าเฉลี่ยต่ำสุด ปัญหาด้านการประกอบอาชีพของชุมชน ตามลำดับ

2) แนวทางการบริหารนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของเทศบาลตำบลแม่คำมี อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ดังนี้ ควรให้ความรู้ความเข้าใจนโยบายเกี่ยวกับปัญหา การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา การสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนโดยการประชาสัมพันธ์ชุมชน ประชุมผู้นำเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับประชาชนได้เข้าใจและรับทราบถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชน การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ก่อนริเริ่มโครงการต่าง ๆ หรือการบรรยายและเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็น มีการประชุม ปรึกษาหารือ สามารถเสนอปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ แสดงความคิดเห็นและเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้เสนอปัญหา หรือปรึกษาหารือในที่ประชุม วิเคราะห์ และตัดสินใจ หาวิธีทาง แนวทางแก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยเลือกแนวทางที่ได้ทำการตัดสินใจร่วมกัน


Full Text:

PDF

References


เทศบาลตำบลแม่คำมี, แผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลแม่คำมี (๒๕๖๑-๒๕๖๔), อำเภอเมือง จังหวัดแพร่.

ธนิศร ยืนยง, (2561 : บทคัดย่อ), การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครนายก, รายงานวิจัย, มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ผการัตน์ พินิจวัฒน์, (2561 : บทคัดย่อ), การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน : กรณีศึกษา บ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย, รายงานวิจัย, ภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

พระครูปลัดประวิทย์ วรธมฺโม และคณะ, (2562 : 12), การกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลไทย, รายงานการวิจัย, วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2549), พุทธวิธีในการบริหาร, พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรินทร์ นิยมางกูร, (2558 : 181), ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อิงฟ้า สิงห์น้อย และ รัฐชาติ ทัศนัย, (ม.ม.ป.), “นโยบายสาธารณะ: การบริหารและการจัดการภาครัฐ”, วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, ปีที่ ๖ ฉบับพิเศษ.

Creighton, James L, (2005), The Public Participation Handbook: Making Better Decisions Through Citizen Involvement, San Francisco : Jossiebass


Refbacks

  • There are currently no refbacks.