กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งวิถีพุทธของชุมชนบ้านบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Phrakhru Paiboondhammarak Dangaye, Phrabaideeka Sakdhithat Saengthong, Phra Rajakhemakorn

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งวิถีพุทธของชุมชนบ้านบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งวิถีพุทธ 2) เพื่อการศึกษากระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งวิถีพุทธของชุมชนบ้านบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และ 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งวิถีพุทธของชุมชนบ้านบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงเอกสารประกอบกับการศึกษาภาคสนามจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 รูป/คน และการสนทนากลุ่มย่อย แล้วนำมาวิเคราะห์ประกอบเนื้อหาในวิทยานิพนธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งวิถีพุทธ เป็นทิศทางการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานการพึ่งตนเองโดยอาศัยกระบวนการจัดการชุมชนในการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยมีวิธีคิดที่มีพื้นฐานจากระบบคิดเดิมของชุมชนหรือภูมิปัญญาพื้นบ้านผสมผสานเข้ากับวิธีคิดและระบบการจัดการของสังคม ความเข้มแข็งและยั่งยืนของคนหรือสังคมชุมชนเป็นการพัฒนาที่มีความต่อเนื่องจากรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ศาสนาวัฒนธรรมและประเพณีโดยยึดหลักความพอดีและพึ่งตนเองได้โดยการสร้างคนดีคนเก่งมีความรับผิดชอบและถึงพร้อมด้วยคุณธรรมเชื่อมโยงเป็นเรื่องเดียวกันและเป็นการบูรณาการทางสังคมก็จะก่อให้เกิดความสมดุลหรือสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืน ซึ่งในการวิจัยนี้ผู้วิจัยใช้หลักสัปปุริสะรรม 7 มาทำการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง
จึงเป็นเป้าหมายของการพัฒนาเพราะเป็นรากฐานของความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน

          2. กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบ้านบุญแจ่ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ พบว่า
มีกระบวนการ 6 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สถานการณ์ (2) การวางแผน (3) การพัฒนาโครงการและกิจกรรมของชุมชน (4) ติดตามและประเมินผล (5) ดำเนินการส่งเสริมความร่วมมือ และ (6) การวิเคราะห์ผล
ซึ่งทั้ง 6 ขั้นตอนนี้มีองค์ประกอบครอบคลุมการพัฒนาใน 4 มิติ คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม

          3. ผลการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง พบว่า กระบวนการทั้ง 6 ขั้นตอนมีเนื้อหาที่สอดรับกันกับหลักธรรมสัปปุริสธรรม 7 ธรรมของคนดีธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษมี 7 ประการคือ 1) ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ 2) อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้เหตุผล 3) อัตตัญญุตา รู้จักตน 4) มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ 5) กาลัญญุตา รู้จักกาลเวลา 6) ปริสัญญุตา รู้จักชุมชนสังคม 7) ปุคคสัญญฺญา รู้จักบุคคล คุณธรรม 7 ประการอันเป็นคุณสมบัติภายในตัวบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติเหล่านี้ เป็นองค์ประกอบและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกันอย่างสมบูรณ์ที่จะทำให้บุคคลสามารถจัดการสามารถปฏิบัติการในภาระงานทุกอย่างภายใต้การมีส่วนร่วมและการพึ่งตนเองของชุมชน ให้บรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาชุมชนได้ตามเป้าหมาย

 


Keywords


Community development, Strong community, Buddhist way, Ban Boon Chaem Community

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.