วิเคราะห์รูปแบบการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม : กรณีศึกษากูฏทันตสูตร

Phra Phumiphat Sukpatthanakit, Prommares Kaewmola, Phramaha Sitthichai Chayasitthi

Abstract


บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาจากการวิจัย “วิเคราะห์รูปแบบการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม : กรณีศึกษากูฏทันตสูตร” โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคมไทยในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาสาระสำคัญของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคมที่ปรากฏในกูฏทันตสูตร และ 3) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม : กรณีศึกษากูฏทันตสูตร เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร โดยการรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฎก อรรถกถา บทความวิชาการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสรุปเรียบเรียงเพื่อนำเสนอข้อมูล

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. แนวคิดในการแก้ปัญาด้านเศรษฐกิจ-สังคมของไทยในปัจจุบัน คือ การนำพาประเทศไทยไปสู่ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับงานวิจัยนี้อยู่ที่การกำหนดนโยบาย ได้แก่ ส่วนที่ 1 การแก้ไขปัญหาในการดํารงชีวิตของประชาชน รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รูปธรรมของนโยบาย ประกอบด้วย ลดข้อจํากัดในการประกอบอาชีพ ส่วนที่ 2 การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งสองส่วนถือว่าอยู่ในหมวดเศรษฐกิจและสังคมด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

          2. สาระสำคัญของการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ-สังคมที่ปรากฏในกูฏทันตสูตร คือ รูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน 2 แบบ ได้แก่ การพัฒนาคนและการพัฒนาบ้านเมือง การพัฒนาคน คือพัฒนาให้มีศีลและปัญญา ส่วนการพัฒนาบ้านเมือง คือ พัฒนาทางเศรษฐกิจ ได้แก่ หลักการปราบโจรผู้ร้าย 3 ประการ ซึ่งผู้วิจัยนำมาเป็นประเด็นในการวิเคราะห์รูปแบบการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม

          3. รูปแบบการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ-สังคม กรณีศึกษากูฏทันตสูตรมี 5 ประเด็น คือ 1) การส่งเสริมอาชีพแก่กลุ่มชนระดับล่าง 3 กลุ่ม เป็นการสร้างรากฐานด้านเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง 2) การขอความร่วมมือจากกลุ่มชนระดับบน 4 กลุ่มนั้น เป็นการสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง 3) การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้นำและผู้ดำเนินโครงการ เป็นการสร้างสรรค์สังคมแห่งความสามัคคี 4) การไม่ให้เสียดายทรัพย์ในการทำทาน เป็นการสร้างสรรค์สังคมแห่งบุญกุศลโดยให้ผู้นำปฏิบัติตามหลักบุญ และกุศล 5) การให้ทานโดยไม่เลือกหน้า เป็นการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเอื้อเฟื้อ แบบไม่เลือกที่รักมักที่ชัง มาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมประสานคนในชุมชน ส่วนผลการวิเคราะห์รูปแบบการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ-สังคมของไทยตามแนวกูฏทันตสูตร พบว่า มีความสอดคล้องกันใน 2 ประเด็น คือ 1) การแก้ไขปัญหาในการดํารงชีวิตของประชาชน ที่รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ การลดข้อจํากัดในการประกอบอาชีพ ลดหนี้ 3 ส่วน คือ 1. กองทุนหมู่บ้าน 2. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 3. หนี้สินนอกระบบ 2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น นโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะเห็นได้ว่า สอดคล้องกับรูปแบบในกูฏทันตสูตรที่เป็นการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจมหภาค ด้วยการมอบเงินทุนและปัจจัยเพื่อการประกอบอาชีพ ให้แก่บุคคลที่มีความขยันขันแข็งในอาชีพของตน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเกษตรกร พ่อค้า และข้าราชการ


Keywords


Model, Economic-social problems, Kūṭadanta Sutta

Full Text:

PDF

References


กฤษดา ปัจจ่าเนย์ และ เด่นพงษ์ แสนคำ. (2563). “พุทธศาสนากับปัญหาเร่งด่วนของการพัฒนา”. วารสารปรัชญาและศาสนา. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม): 91-118.

กลุ่มสื่อสารเชิงกลยุทธ์ สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2564). ทัน LINE ไทยคู่ฟ้า. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/21733.

คณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2563). ธรรมประยุกต์ (Applied Dhamma). พระนครศรีอยุธยา : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระกุศล สุภเนตโต. (2564). “วิเคราะห์การแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจตามหลักกูฏทันตสูตรกับโครงการชิม

ช้อป ใช้”. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน): 51-62.

พระครูปริยัติกิตติธำรง. (2561). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

พระครูพิพัฒน์จันทรังษี (บุญโฮม าณฉนฺโท). (2560). “ศึกษาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนแนวพุทธของกลุ่มเกษตรกร บ้านโนนยาง ตำบลนาดี อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเทพรัตนมุนี. (2559). “การเกษตรแนวพุทธเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน”. วารสารปัญญาปณิธาน. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม): 34-47.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2565). “เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ : การจัดการความขัดแย้งผ่านมิติการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ”. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://ps.mcu.ac.th/?p=7599.

พระอธิการสายแพร กตปุญฺโญ และพระมหามิตร ฐฃิตปญฺโ. (2563). “การพัฒนาคนและพัฒนาบ้านเมืองในกูฏทันตสูตร”. วารสารวิชาการธรรมทัศน์. ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม): 167-176.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศันสนีย์ ชุมพลบัญชร. (2559). “กูฏทันตสูตรกับการจัดการเศรษฐศาสตร์มหภาค”, ธรรมธาราวารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา, ฉบับรวมที่ 3: 109-115.

อภิรมย์ สีดาคำ. (2560). “การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและพระสงฆ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจน”. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. ปีที่ 13 ฉบับพิเศษ เล่ม 1 (มิถุนายน): 1-15.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.